ผู้บริหารทางการเงินกับบทบาทและหน้าที่ที่ต้องมีในด้านธุรกิจ

เศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน มีอัตราการผันแปร และผันผวนเป็นอย่างมาก ทั้งอัตราของดอกเบี้ย การแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของค่าน้ำมันในทุกวัน การถือกำเนิดของนวัตกรรมการเงินใหม่ๆ การผันแปรของอัตราเงินเฟ้อ และการปฎิรูปของสถาบันทางการเงิน เพราะสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของโลก ทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารทางการเงิน ต้องทำความเข้าใจ ปรับตัว และติดตามความก้าวหน้าของเศรษฐกิจโลก ได้อย่างทันท่วงที่ 

เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยอย่างมาก ในการจัดการด้านการเงิน เพื่อให้ผู้บริหารสามารถปฎิบัติหน้าที่และดูแลความรับผิดชอบต่อฝ่ายต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อ รวมถึงการมีบทบาทของรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องในความรับผิดชอบ โดยมีจุดประสงค์หลักคือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มสวัสดิการของสังคม ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลด้านการเงินจึงต้องมีความรับผิดชอบเป็นอย่างมาก และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องมีก็คือ

  1. การรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ เพื่อให้ผู้ที่ถือหุ้นในกิจการทุกคนได้รับผลประโยชน์สูงสุดในการลงทุน
  2. การรับผิดชอบต่อรัฐบาล ต้องเป็นธุรกิจที่ถูกกฏหมายและไม่ขัดต่อการทำงานของรัฐบาล 
  3. การรับผิดชอบต่อผู้ให้บริการด้านการเงิน (เจ้าหนี้) ดูแลสถานภาพของการเงินของกิจการให้มีความมั่นคง เพื่อให้เจ้าหนี้มีความมั่นใจว่าเราจะสามารถชำระหนี้ได้อย่างตรงเวลา หรือเมื่อกิจการมีความจำเป็นที่ต้องกู้เงินมาใช้ในการลงทุน ดูน่าเชื่อถือในการอนุมัติการกู้
  4. การรับผิดชอบต่อลูกน้องหรือลูกจ้าง เพื่อให้ลูกน้องหรือลูกจ้างมีความมั่นคง และการหน้าในหน้าที่การงาน สามารถซื้อใจลูกน้องได้ถ้ากิจการมีความรับผิดชอบในด้านนี้
  5. การรับผิดชอบต่อสังคม กิจการที่ทำต้องไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมภายในสังคมและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม

บทบาทและหน้าที่ในด้านธุรกิจ

ทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นการทำกิจการในรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะมีฐานเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ๋ หน้าที่หลักของผู้บริการทางการเงิน คือการดูแลธุรกรรมด้านการเงินขององค์กรเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเพิ่มมูลค่าของกิจการ ทำให้ได้ผลกำไร และทำให้กิจการเจริญเติบโตมีช่องทางต่างๆ ในการขยับขยายกิจการเพิ่มขึ้นในอนาคต มีบทบาทหน้าที่อยู่ 5 อย่างคือ 

  • การพยากรณ์และวางแผน เพราะผู้บริหารทางการเงินจำเป็นที่จะต้องติดต่อประสานงานกับหลายฝ่ายภายในองค์กร เพื่อนำข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ มาประมวลผล เพื่อวางแผนทางด้านการเงินขององค์กร
  • การตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน ทั้งในเรื่องของการตัดสินใจแก้ปัญหาในระยะสั้น เช่น การสั่งซื้อสินค้า การผลิตสินค้าออกมาขาย หรือการหยุดการผลิตสินค้า เพื่อไม่ให้บริษัทขาดทุน และการตัดสินใจในระยะยาว การลงทุนในโครงการต่างๆ ที่มีมูลค่าสูง เช่น การตัดสินใจสร้างโรงงานขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนโรงงานเดิม หรือทดแทนการยกเลิกใช้โรงงานเดิม
  • การประสานงานและควบคุม การติดต่อประสานงานกับฝ่านอื่นๆ ภายในองค์เป็นหน้าที่ที่สำคัญมากเช่นกัน เพื่อให้ผู้บริหารทางการเงิน สามารถจัดงบประมาณสำหรับดูแลแต่ละฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
  • การเป็นตัวแทนขององค์กรทำการติดต่อกับตลาดการเงิน เพื่อหาแหล่งเงินทุนสำหรับองค์กร และต้องประเมินความเสี่ยงในการกู้ยืมเงินว่าต้องใช้ทุนเท่าไหร่ มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
  • การบริหารความเสี่ยง ทำให้องค์กรเกิดความเสี่ยงที่จะผิดพลาดน้อยที่สุด เพื่อให้ไม่เกิดความเสียหายต่อองค์กร เช่น การดูแลสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *