เริ่มต้นธุรกิจอย่างไร

เมื่อตัดสินใจจะก้าวออกมาเป็นผู้ประกอบการ และรู้แน่ชัดแล้วว่าจะทำธุรกิจอะไร เชื่อว่าสิ่งที่หลายคนต้องคิดและอาจจะนำมาซึ่งประเด็นถกเถียงกันภายในหุ้นส่วน คงหนีไม่่พ้นว่าจะทำธุรกิจในรูปแบบไหนดี ไม่มีความรู้เรื่องภาษี เคยได้ยินคนนี้คนนั้นพูดว่าเป็นนิติบุคคลแล้ว ยุ่งยาก เสียภาษีเยอะ โดยสรรพากรประเมินค่าเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ทางที่ดีต้องวิเคราะห์ความพร้อมของตัวเองก่อนเพื่อนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจว่าควรทำธุรกิจในรูปแบบไหนดี และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ประเภทของธุรกิจที่นิยมจดทะเบียน

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
  3. บริษัทจำกัด

เราไปทำความเข้าใจความแตกต่างของแต่ละรูปแบบกันค่ะ

1. บุคคลธรรมดา คือการที่เราทำธุรกิจโดยใช้ชื่อของเราเอง หากต้องจดทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์หรือแม้กระทั่งจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ดำเนินการภายใต้ชื่อของเราเอง เป็นการทำธุรกิจในรูปแบบเจ้าของคนเดียว ส่วนใหญ่มักเป็นกิจการขนาดเล็ก โดยที่เจ้าของสามารถบริหารจัดการได้เอง

ข้อดีของการทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา ก็คือเรื่องของการทำงาน การคิดบริหารงาน การตัดสินใจต่างๆจะทำได้อย่างรวดเร็ว และกฎหมายไม่ได้บังคับให้มีผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี                                    

แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องมุมมองของธุรกิจอาจไม่กว้างไกลเท่าที่ควรการขยายกิจการอาจทำได้ยากกว่าเพราะด้องใช้   เงินลงทุนเจ้าของเอง การกู้ยืมเงิน จากธนาคารเป็นไปได้ยากกว่าการประกอบกิจการในรูปนิติบุคคลรวมถึงภาระภาษีเงินได้ที่จัดเก็บ ตามอัตราก้าวหน้า คือมีรายได้มากเสียภาษีมาก    โดย  มีอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% ของเงินได้สุทธิซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่านิติบุคคล SME ซึ่งอัตราสูงสุดอยู่ที่ 20% และมีหลักเกณฑ์ในการหักค่าใช้จ่าย   ง่ายๆคือ หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาและหักลดหย่อนได้ตามเกณฑ์ของกฎหมาย หากประสงค์จะหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงก็ต้องมีการลงบัญชีเก็บ   หลักฐานที่ถูกต้อง  ตอนนี้มาทำความเข้าใจรูปแบบที่สองกันค่ะ

 2.ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน คือ การที่มีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้าร่วมหุ้นกันในการทำธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์นำเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับมาแบ่งกัน หุ้นส่วนประเภทนี้ หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน 

                  “ทำไมถึงต้องมีห้างหุ้นส่วนสามัญ ? แตกต่างจากการประกอบธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาอย่างไร”

                    เป็นคำถามที่หลายคนเคยสงสัย ถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบ ในที่นี่จะขอยกตัวอย่าง ให้ได้เห็นภาพชัดเจนค่ะ                        

“อ่านสักนิด ชีวิตเปลี่ยน”

ตามประมวลรัษฎากรถือว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเป็น หน่วยภาษีประเภทบุคคลธรรมดา แยกออกต่างหากจากบุคคลที่มาร่วมกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ทำให้การร่วมมือกันทำธุรกิจในรูปห้างหุ้นส่วนสามัญจะต้องเสียภาษีในฐานะห้างหุ้นส่วน แยกต่างหากไม่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นหุ้นส่วน ยกตัวอย่าง เช่น นายวิชัย ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างตกแต่งภายใน มีรายได้ต่อปีประมาณ 1 ล้านบาท ในการคำนวณเงินได้ที่ต้องเสียภาษีโดยเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ 70% ตามกฎหมาย (สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงแต่ต้องมีหลักฐานถูกต้องครบถ้วน)

คำนวณภาษีที่ต้องชำระดังนี้  

เงินได้พึงประเมิน1,000,000
หัก ค่าใช้เป็นการเหมา 70%   700,000
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย    300,000
หัก ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้     30,000
เงินได้พึงประเมินสุทธิ   270,000
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องเสีย      6,000

จะเห็นได้ว่าเมื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ มีดีก่อสร้างแอนด์คอนสตรัคชั่นแล้วประหยัดภาษีได้ถึง 23,000 บาทต่อปี ในที่นี้ยังไม่ได้กล่าวถึงความยุ่งยากเมื่อมีรายได้ถึง 1,800,000 แล้วแต่นายวิชัยไม่ได้เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม คือไม่ได้ไปจดทะเบียนกับกรมสรรพากรนั่นเอง

มาศึกษาต่อในเรื่อง รูปแบบธุรกิจประเภทที่ 3 กันค่ะ

3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด การประกอบกิจการประเภทนี้ จะแตกต่างกันในเรื่องของความรับผิดของห้างหุ้นส่วน ซึ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ

                     หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน

                     หุ้นส่วนทั่วไป สามารถกำหนดความรับผิดชอบในหนี้สินได้ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ลงหุ้น

ความแตกต่างกันอีกเรื่องหนึ่งคืออัตราภาษีที่ต้องชำระ 

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราภาษีร้อยละอัตราภาษีนิติบุคคล SMEอัตราภาษีร้อยละ
เงินได้สุทธิ 1-150,000ยกเว้น กำไรสุทธิ 300,000      ยกเว้น
150,001-300,0005  300,000>=3,000,00015
300,000-500,00010เกิน 3,000,000 ขึ้นไป20
500,001-750,00015  
750,001-1,000,00020  
1,000,001-2,000,00025  
2,000,001-5,000,00030  

5 ล้านขึ้นไป 35%

 จะเห็นได้ว่าอัตราภาษีสูงสุดของ SME อยู่ที่ 20% ในขณะที่บุคคลธรรมดาอัตราสูงสุดคือ 35% ส่วนฐานภาษีบุคคลธรรมดาเรียกเก็บจากเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนไม่ว่าจะมีกำไรหรือไม่ก็ตาม ในขณะที่นิติบุคคล SME ฐานภาษีเรียกเก็บจากกำไรสุทธิขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี

4.บริษัท จำกัด การทำธุรกิจในรูปบริษัทจำกัด มีรายละเอียดสรุปดังนี้

    4.1 แบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน

    4.2 มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

    4.3 มีผู้ถือหุ้น ไม่น้อยกว่า 3 คน

    4.4 ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบถ้วน