ทำไมต้องมีห้างหุ้นส่วนสามัญ

“ทำไมถึงต้องมีห้างหุ้นส่วนสามัญ ? แตกต่างจากการประกอบธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาอย่างไร”

                    เป็นคำถามที่หลายคนเคยสงสัย ถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบ ในที่นี่จะขอยกตัวอย่าง ให้ได้เห็นภาพชัดเจนค่ะ                        

“อ่านสักนิด ชีวิตเปลี่ยน”

ตามประมวลรัษฎากรถือว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเป็น หน่วยภาษีประเภทบุคคลธรรมดา แยกออกต่างหากจากบุคคลที่มาร่วมกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ทำให้การร่วมมือกันทำธุรกิจในรูปห้างหุ้นส่วนสามัญจะต้องเสียภาษีในฐานะห้างหุ้นส่วน แยกต่างหากไม่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นหุ้นส่วน ยกตัวอย่าง เช่น นายวิชัย ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างตกแต่งภายใน มีรายได้ต่อปีประมาณ 1 ล้านบาท ในการคำนวณเงินได้ที่ต้องเสียภาษีโดยเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ 70% ตามกฎหมาย (สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงแต่ต้องมีหลักฐานถูกต้องครบถ้วน)

คำนวณภาษีที่ต้องชำระดังนี้  

เงินได้พึงประเมิน1,000,000
หัก ค่าใช้เป็นการเหมา 70%   700,000
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย    300,000
หัก ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้     30,000
เงินได้พึงประเมินสุทธิ   270,000
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องเสีย      6,000

 

 ในปีต่อมานายวิชัย ขยายกิจการเพิ่ม จึงชักชวนเพื่อนมาลงทุน โดยจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นมาใหม่ว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีดีก่อสร้างแอนด์คอนสตรัคชั่น”  โดยรับงานในนามห้างหุ้นส่วน มูลค่า 1 ล้านบาท โดยในปีเดียวกันนี้นายวิชัย มีรายได้จากงานตกแต่งภายในอีก 800,000 บาท 

มาดูความแตกต่างของภาษีทั้ง 2 ตัวกันค่ะ

 ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีดีก่อสร้งแอนด์คอนสตรัคชั่นนายวิชัย “เมื่อไม่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
เงินได้พึงประเมิน                           1,000,000                           1,800,000
หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา 70%                              700,000                            1,260,000
เงินได้หลักหักค่าใช้จ่าย                              300,000                                540,000
หัก ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้                                30,000                                 30,000
เงินได้พึงประเมินสุทธิ                              270,000                                510,000
ภาษีที่ต้องชำระ                                  6,000                                   29,000

 จะเห็นได้ว่าเมื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ มีดีก่อสร้างแอนด์คอนสตรัคชั่นแล้วประหยัดภาษีได้ถึง 23,000 บาทต่อปี ในที่นี้ยังไม่ได้กล่าวถึงความยุ่งยากเมื่อมีรายได้ถึง 1,800,000 แต่นายวิชัยไม่ได้เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม คือไม่ได้ไปจดทะเบียนกับกรมสรรพากรนั่นเอง

ห้างหุ้นส่วนจำกัด การประกอบกิจการประเภทนี้ จะแตกต่างกันในเรื่องของความรับผิดของห้างหุ้นส่วน ซึ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ

                     หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน

                     หุ้นส่วนทั่วไป สามารถกำหนดความรับผิดชอบในหนี้สินได้ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ลงหุ้น

ความแตกต่างกันอีกเรื่องหนึ่งคืออัตราภาษีที่ต้องชำระ 

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอัตราภาษีร้อยละอัตราภาษีนิติบุคคล SMEอัตราภาษีร้อยละ
เงินได้สุทธิ 1-150,000ยกเว้น กำไรสุทธิ 300,000      ยกเว้น
150,001-300,0005  300,000>=3,000,00015
300,000-500,00010เกิน 3,000,000 ขึ้นไป20
500,001-750,00015  
750,001-1,000,00020  
1,000,001-2,000,00025  
2,000,001-5,000,00030  

5 ล้านขึ้นไป 35%

 จะเห็นได้ว่าอัตราภาษีสูงสุดของ SME อยู่ที่ 20% ในขณะที่บุคคลธรรมดาอัตราสูงสุดคือ 35% ส่วนฐานภาษีบุคคลธรรมดาเรียกเก็บจากเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนไม่ว่าจะมีกำไรหรือไม่ก็ตาม ในขณะที่นิติบุคคล SME ฐานภาษีเรียกเก็บจากกำไรสุทธิขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี